บ้านบุเปือย

"บุระเบ๊ะ" เป็นภาษาส่วย เป็นคนเผ่าๆหนึ่งในสมัยนั้น มีภาษาเป็นของตนเองแต่ไม่ปรากฏมีตัวหนังสือไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คนส่วยเดิมเป็นคนโกยหรือคนกวย แต่ขึ้นต่อรัฐบาลไทย

ในขณะนั้นมีการเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ แต่ "คนโกย"?หรือ "กวย" เมื่อถูเกณฑ์ทหารฝึกไม่ได้ เพราะฟังภาษาไทยไม่ออก ทางการจึงสั่งให้คนโกยหรือกวย หาของไปบรรณาการแก่ทางราชการ แทนการไปเป็นทหารเรียกว่า "ไปส่งส่วย" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

คำว่า "บุ" ภาษาไทยแปลว่า "ป่าร้าง" สมัยนั้นมีการทำไร่เลื่อนลอย

"ระเบ๊ะ" เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งภาษาไทยเรียกว่า "ต้นกะบาก"

ต่อมาราวปี พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อหมู่เป็น "บ้านบุเปือย" โดยการแนะนำของ "ขุนศรีขรภูมิ" เจ้าเมืองเดชอุดมในขณะนั้น

เจ้าเมืองเดชอุดมได้ออกมาตรวจราชการ พอมาถึงบ้านบุระเบ๊ะ ท่านได้พักแรมที่หมู่บ้านนี้ และได้ร่วมออกล่าสัตว์ป่ากับราษฎร

ท่านเห็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วย "ไม้เปือย" (ภาษาไทยเรียกว่าต้นตะแบก) ท่านจึงให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "บ้านบุเปือย"

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บ้านบุเปือยอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขาไฟเก่ามาหลายหมื่นปี ลักษณะเหมือนภูเขาแต่เป็นภูเขาดินเตี้ยๆดินเป็นสีแดงเข้ม

ชาวบ้านมักนิยมเรียกภูเขานี้ว่า “ภูดินแดง”

วันที่ 18 กันยายน 2561 บ้านบุเปือย หมู่ที่ 1 ตำบลบุเปือย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ติดอันดับ 1 ใน 50 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีต้นแบบ ระดับประเทศ จัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน